วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ขนมในเทศกาลต่างๆ


       ขนมไทยได้เข้ามามีบทบาทในงานบุญตั้งแต่อดีตมาแล้วที่คนไทยทำขนมพิเศษ ๆ เฉพาะงานบุญขึ้น นั่นหมายถึงในปีหนึ่ง ๆ จะมีการทำขนมชนิดนั้นเพียง ๑ ครั้งเท่านั้น เนื่องจากทำยากและต้องใช้แรงใจแรงกายของคนหลาย ๆ คนร่วมกัน ชาวบ้านจะทำขนมนั้นๆ ในปริมาณมาก ซึ่งถ้าเหลือจากงานบุญก็จะนำไปแจกจ่ายเพื่อนบ้านและเก็บไว้ กินเอง หากจะเรียกขนมไทยในงานบุญนี้ว่าขนมตามฤดูกาลก็คงจะไม่ผิดนัก

        ขนมไทยในเทศกาลต่างๆ มีดังนี้
       
        1. ขนมที่ใช้ในงานมงคลสมรส



                       
                       ถ้าเป็นงานมงคลสมรสมักจะทำขนมหวานให้ครบ 9 สิ่งขนมที่ใช้ในงานมงคลสมรสตามประเพณีทางฝ่ายเจ้าสาวจะต้องเป็นผู้จัด และขนมที่นิยมจัด คือ

1. ฝอยทองหรือทองหยิบ

2. ขนมชั้น

3. ขนมถ้วยฟู

4. ขนมทองเอก

5. ขนมหม้อแกง

6. พุทราจีนเชื่อม

7. ข้าวเหนียวแก้ว หรือวุ้นหน้าสีต่าง ๆ

8. ขนมดอกลำดวน

9. ผลไม้ต่าง ๆ ลอยแก้ว

         แต่ตามความเชื่อบางอย่างของคนไทย ขนมที่มีลักษณะเป็นเส้น มักจะใช้สำหรับงานทำบุญอายุ เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้มีอายุยืนยาว แต่กลับไม่ใช้จัดในงานศพ เพราะเชื่อว่าจะ มีการตายต่อเนื่องไม่เป็นมงคล ความเชื่อเหล่านี้ถือเป็นเหตุผลของแต่ละบุคคลมิได้เป็นข้อห้ามเสียทีเดียว


        2. ขนมที่ใช้ในพิธีการตั้งศาลพระภูมิ




                       
                        ขนมที่ใช้เป็นเครื่องสังเวยพระภูมิ คือ

1. ขนมต้มแดง

2. ขนมต้มขาว

3. ขนมเล็บมือนาง (ขนมคันหลาว)

4. ขนมดอกจอก หรือขนมทองหยิบ

5. ขนมถั่วแปบ (ขนมหูช้าง)

6. ขนมข้าวเหนียวแดง

7. ขนมประเภทบวดต่าง ๆ


        3. ขนมที่ใช้ในเทศกาลต่างๆ



                       

                       ประเพณีสงกรานต์ งานตรุษสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี คนไทยถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ขนมที่ใช้ทำได้แก่

1. กาละแม
2. ข้าวเหนียวแดง
     วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษาตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่พระสงฆ์ต้องอยู่จำวัด ไม่ออกไปค้างแรมที่อื่นเป็นระยะเวลา 3 เดือน เพราะเป็นฤดูฝน ขนมที่นิยมทำ ได้แก่
1. ข้าวต้มผัด
2. แกงบวดต่าง ๆ ได้แก่ แกงบวดฟักทอง แกงบวดมันสำปะหลัง
วันสารทไทย วันสารทไทยตรงกับวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ขนมที่ใช้ทำกัน ได้แก่ กระยาสารท


           4. การทำบุญเดือนสาม




                      เป็นเทศกาลทำบุญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือเรียกว่างานบุญข้าวจี่เป็นการจัดอาหารมาถวายพระที่อยู่ ณ สถานที่ของวัดเพื่อปลงอาบัติครั้งยิ่งใหญ่ในรอบปี ขนมที่ใช้
งานบุญเดือนสาม ได้แก่

1. ขนมเทียน

2. ข้าวต้มผัด                                                        

3. ข้าวจี่

   
        5. การทำบุญเดือนสิบ    



                  
                    การทำบุญเดือนสิบตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เป็นเทศกาลของภาคใต้ เป็นการทำบุญแผ่ส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว ขนมที่ใช้ในการทำทำบุญเดือนสิบ ได้แก่

1. ขนมลา หมายถึง เสื้อผ้าแพรพัน
2. ขนมกง หมายถึง เครื่องประดับ
3. ขนมดีซัน หมายถึง เบี้ยหรือเงินใช้สอย
4. ขนมพอง หมายถึง แพรล่องข้าม
5. ขนมสะบ้า หมายถึง สะบ้า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น